Subscribe:

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555


การปลูกสร้างสวนยางพารา

 
แหล่งปลูก
                สภาพพื้นที่ : เป็นพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ควรเกิน  600  เมตร  เป็นพื้นที่ราบหรือมีความลาดเอียงต่ำกว่า  35  องศา  ถ้าความลาดเอียงเกิน  15  องศา ต้องทำขั้นบันไดและปลูกพืชคลุมดิน  เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน ไม่เป็นแหล่งที่มีน้ำท่วมขัง
               ลักษณะดิน : เป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย  เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์  หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า  1  เมตรและไม่มีชั้นหินแข็งหรือดินดาน  ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า  1 เมตร  การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี  มีค่าความเป็นกรด  ด่างที่เหมาะสม  ประมาณ  4.5  5.5
                สภาพภูมิอากาศ : ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า  1,250 มิลลิเมตรต่อปีและมีจำนวนวันฝนตกเฉลี่ยประมาณ 120  150  วัน
                แหล่งน้ำ : อาศัยน้ำฝน
พันธุ์ยาง
                พันธุ์ยางพันธุ์ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
                                1. ให้ผลผลิตสูง
                                2. การเจริญเติบโตดี
                                3. มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                                4. ต้านทานโรคในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงดี
                พันธุ์ยางที่แนะนำของกรมวิชาการเกษตร  ปี  2546  มี  3  กลุ่ม  ดังนี้
                กลุ่มที่  1  พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง  ที่แนะนำให้ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่
                                สถาบันวิจัยยาง251  RRIM600  ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะดังนี้
                                สถาบันวิจัยยาง  251 (RRIT  251)
                                   ผลผลิตเฉลี่ย  10  ปี  457  กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี   การเจริญเติบโตปานกลาง  เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง   ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น  วันเว้นวัน   ต้านทานโรคเส้นดำดี  ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา  โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน  และโรคราสีชมพูปานกลาง  มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย   ต้านทานลมปานกลาง   ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน  พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น  และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
                                พันธุ์  RRIM  600
                                    ผลผลิตเฉลี่ย  289  กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลาง  เมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยางผลผลิตลดลงมากในช่วงผลัดใบในพื้นที่แห้งแล้ง               การเจริญเติบโตปานกลาง  เปลือกเดิมบาง  และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง  ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น  วันเว้นวัน  ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนปานกลาง  อ่อนแอต่อโรคราสีชมพู  อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ  มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย   ต้านทานลมปานกลาง     ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน  ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น  และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง  
                                    ข้อสังเกต  ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระบาดอย่างรุนแรง
การปลูก
                การเตรียมพื้นที่
                 ทำการไถพลิก  และไถพรวนอย่างน้อย  2  ครั้ง  พร้อมทั้งเก็บตอไม้  เศษไม้  และวัชพืชออกให้หมดเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการปลูกสร้างสวนยาง สำหรับพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า  15  องศา  จะต้องวางแนวปลูกตามขั้นบันได  วางแนวปลูกตามแนวตะวันออก  ตะวันตก

                ระยะปลูก 
                2.5  X  8.0   เมตร  หรือ  3.0  X  7.0  เมตร ในแหล่งปลูกยางเดิม
                2.5  X  7.0   เมตร  หรือ  3.0  X  6.0  เมตร  ในแหล่งปลูกยางใหม่
                ขนาดของหลุม 
50  X  50  X  50  เซนติเมตร  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต  หลุมละ  170  กรัม  ในแหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์  5  กิโลกรัมต่อต้นรองก้นหลุมร่วมกับหินฟอสเฟต
    
                วิธีการปลูก   
                ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน  ใช้ต้นยางชำถุงขนาด 1 – 2 ฉัตร  ควรเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง  ปราศจากโรคและแมลงศัตรู  ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม  ใช้มีดเฉือนก้นถุงออกประมาณ   3  เซนติเมตร  แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดออกจากกันแต่ยังไม่ดึงถุงออก  นำไปวางในหลุมกลบดินลงหลุมจนเกือบเต็มหลุม  แล้วดึงถุงพลาสติกออกระวังอย่าให้ดินในถุงพลาสติกแตก  กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดินให้แน่น  โดยให้ดินบริเวณโคนต้นยางสูงกว่าเล็กน้อย  เพื่อมิให้น้ำขังในหลุมปลูก  หากต้นยางตายหลังปลูก  ควรปลูกซ่อมก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย  2  เดือน  และไม่ควรปลูกซ่อม  เมื่อต้นยางอายุ  2  ปี  ขึ้นไป  ก่อนเข้าฤดูแล้ง ควรใช้เศษพืชคลุมบริเวณรอบโคนต้นยาง ห่างจากต้นยางประมาณ 5-10  เซนติเมตร
                                           
                การเตรียมความพร้อมต้นพันธุ์ยางก่อนนำไปปลูก
                                เพื่อให้ต้นพันธุ์ยางพาราที่จะนำไปปลูกมีความพร้อมที่จะนำไปปลูก  ให้ต้นมีความทนทาน  มีโอกาสรอดตายสูง  เกษตรกรควรปฏิบัติดังนี้
                                1. ไม่ควรนำต้นพันธุ์ที่ขนส่งมาถึงไปปลูกในทันที  ควรพักต้นอยู่ในเรือนเพาะชำก่อนอย่างน้อย  1-2   สัปดาห์  โดยเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่ใกล้แปลงปลูกมากที่สุด  และสามารถให้น้ำได้สะดวก
                                2. อนุบาลต้นพันธุ์โดยการให้น้ำวันละ  1  ครั้ง 
                                3. ก่อนปลูกประมาณ  10  วัน  ลดการให้น้ำลงเป็น  วันเว้นวัน
                                4. ก่อนปลูกราว 2  3 วัน  ให้งดน้ำ  เพื่อให้ดินในถุงแข็งตัว  เมื่อขนส่งหรือปลูกดินจะไม่แตก  และเป็นการเตือนต้นยางและระบบรากยางให้เตรียมพร้อมรับสภาพเครียด

การดูแลรักษา
                การปลูกพืชคลุมดิน
                พื้นที่ระหว่างแถวยางที่ไม่ปลูกพืชแซมยาง  ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วในช่วงเวลาเดียวกันกับการปลูกยาง  เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ  ป้องกันการชะล้างพังทลาย  และควบคุมวัชพืช
                ชนิดของพืชคลุมดินตระกูลถั่วที่แนะนำ  คือ คาโลโปโกเนียม  เซนโตรซิมา  เพอราเรีย 
ในอัตราส่วน  5:4:1  2:2:1  0:3:1  1:2:0  1:1:0  โดยน้ำหนัก  หรือเพอราเรียอย่างเดียวในอัตราปลูก  1.0  กิโลกรัมต่อไร่
                เตรียมเมล็ดพันธุ์โดยแช่เมล็ดพันธุ์น้ำอุ่น (น้ำเดือด :  น้ำ  2:1)  2  ชั่วโมง
                วิธีปลูกโดยหว่านหรือโรยเป็นแถว   3  แถว  ระหว่างแถวยางห่างจากแถวยาง  1.0  1.5  เมตร
                ใส่ปุ๋ยบำรุงพืชคลุมโดยหว่านปุ๋ยหินฟอสเฟตในแถวพืชคลุมอัตรา  15  และ  30  กิโลกรัมต่อต้น  เมื่อพืชคลุมดินอายุ  2  และ  5  เดือน  ตามลำดับ  หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยหินฟอสเฟตในบริเวณ  พืชคลุมอัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อพืชคลุมอายุ  9  เดือนและต่อไปปีละครั้ง
                การให้ปุ๋ย
                                ระยะก่อนเปิดกรีด
                                ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร  20  8  20  สำหรับยางพาราในแหล่งปลูกยางเดิม  และสูตร  20  10  12 สำหรับยางพาราในแหล่งปลูกยางใหม่  อัตราและเวลาใส่ปุ๋ยตามชนิดของดิน  และอายุของต้นยาง  ตามตารางที่ 1
                                ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา  2  กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะในแหล่งปลูกยางใหม่
                                ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่านรอบต้นหรือโรยเป็นแถบ  2  ข้างต้นยาง  บริเวณทรงพุ่มของใบยางแล้วคราดกลบ  กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย (พื้นที่ลาดเท  ควรใส่ปุ๋ยโดยวิธีการขุดหลุม  2  จุด  บริเวณทรงพุ่มของใบยาง  แล้วกลบเพื่อลดการชะล้าง)
ใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นไม่ควรใส่ปุ๋ยในฤดูแล้งหรือมีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน
                                ระยะหลังเปิดกรีด
                                ควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ของดิน  สำหรับคำแนะนำทั่วไป  คือ  ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 30  5  18  อัตรา  1  กิโลกรัมต่อต้นต่อปี  แบ่งใส่  2  ครั้ง  ในช่วงต้นฤดูฝน  และปลายฤดูฝน   ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่านหรือโรยเป็นแถบบริเวณระหว่างแถวยางแล้วกลบ

ตารางที่  1  เวลาและอัตราปุ๋ยสูตรสำเร็จที่ใช้กับต้นยางก่อนเปิดกรีด

ปีที่
อายุต้นยางเดือน
อัตราปุ๋ย (กรัม/ต้น)
แหล่งปลูกยางเดิม
แหล่งปลูกยางใหม่
ดินร่วนเหนียว
ดินร่วนทราย
ดินทุกชนิด
1
2
70
100
60

5
100
140
80

11
130
170
100
2
14
150
200
110

16
150
210
110

23
150
210
120
3
28
230
320
180

36
230
320
180

40
240
330
180
4
47
240
330
180

52
260
360
200
5
59
260
360
200

64
270
370
200
6
71
270
370
200

หมายเหตุ  เวลาใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน  แหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี

การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
                เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยหรือเป็นทางเลือกในการใส่ปุ๋ยเคมี  หากเกษตรกรไม่สามารถหาสูตรปุ๋ยที่แนะนำในท้องตลาด  เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยที่มีสูตรใกล้เคียงหรือผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง  แม่ปุ๋ยที่นำมาใช้ในการผสมปุ๋ยเคมีได้แก่  ปุ๋ยไดแอมโมเนียฟอสเฟต (18 -46  0)  ปุ๋ยยูเรีย  (46  0  0)  และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0  0 - 60)  ปริมาณแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผสมปุ๋ย สูตรต่างๆ  จำนวน  100  กิโลกรัม แสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2  ปริมาณแม่ปุ๋ยและสารตัวเติม (กิโลกรัม)ในการผสมปุ๋ยตามคำแนะน้ำหนัก  100  กิโลกรัม

สูตรปุ๋ย
ไดแอมโมเนียม
ฟอสเฟต
18-46-0
ยูเรีย

46-0-0
โพแทสเซียม
คลอไรด์
0-0-60
สารตัวเดิม
ทรายดินร่วน
20-8-20
18
38
34
10
20-10-12
22
36
20
22
30-5-18
10
60
30
0

การตัดแต่งกิ่งยางพาราในท้องที่แห้งแล้ง
                ยางพาราที่ปลูกในท้องที่แห้งแล้งจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่มให้เหมาะสม  และเป็นการเตรียมพื้นที่บริเวณลำต้นให้เหมาะสมที่จะใช้กรีดยางได้  การตัดแต่งกิ่งที่ดีจะช่วยให้ต้นยางมีทรงพุ่มแข็งแรง  ลดปัญหาความเสียหายที่เกิดจากลมและโรคยางต่างๆ  ต้นยางพาราที่มีทรงพุ่มดีจะมีการเจริญเติบโตได้เร็ว  ให้ผลผลิตสูงและต่อเนื่องในช่วงหลังเปิดกรีดได้ยาวนานการตัดแต่งกิ่งอาจแบ่งออกตามวัตถุประสงค์และวิธีการตัดแต่งได้  3  ลักษณะ  คือ
                1. การตัดแต่งกิ่งต้นยางอ่อน
                ควรหมั่นตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ  หลังจากปลูก  2  เดือน  เพื่อให้ลำต้นเรียบสะดวกต่อการเปิดกรีดระยะปกติและระบบเปิดกรีดยางหน้าสูง  ลักษณะทรงพุ่มที่ดี  ควรมีทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปตัววี  หรือทรงกรวยหงาย  โดยเลี้ยงกิ่งกระโดงให้สมบูรณ์แข็งแรง  ส่วนกิ่งแขนงเลือกกิ่งที่ทำมุมกว้างกับลำต้น  และมีกิ่งรองน้อยแผ่รอบทรงพุ่มอย่างสมดุล  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 
                ระยะที่ 
1  ต้นฤดูฝนปีที่ 1  ตัดแต่งกิ่งแขนงข้างที่แตกต่ำกว่า  30  ซม.  จากพื้นดิน  และหมั่นตรวจรอยตัดอย่างสม่ำเสมอ  หากพบว่ามีกิ่งแขนงแตกออกมาใหม่ให้ตัดออก  ส่วนกิ่งแขนงข้างที่สูงกว่า  30  ซม. คัดเลือกเลี้ยงไว้  2-3   กิ่ง  เพื่อเพิ่มพื้นที่ใบให้เหมาะสม


           ระยะที่ 2  ต้นฤดูฝนปีที่ 2  ตัดกิ่งแขนงข้างทุกกิ่งที่แตกต่ำกว่า  1  เมตร  จากพื้นดิน  และหมั่นตรวจรอยตัดอย่างสม่ำเสมอ  หากพบว่ามีกิ่งแขนงเริ่มแตกออกมาใหม่ให้ตัดออก  ส่วนที่แตกสูงกว่า  1  เมตร  จะตัดออกก็ต่อเมื่อมีกิ่งที่ระดับ  1.90-2.30  เมตร  แตกออกมาแล้วหรือกิ่งแขนงที่เลี้ยงไว้เจริญเติบโตมากกว่า  3  ฉัตร  เพื่อเลี้ยงทรงพุ่มในระยะที่  3  ให้เร็วที่สุด


                ระยะที่
 3  ปลายฤดูฝนปีที่ 2  กิ่งแขนงข้างทุกกิ่งที่แตกสูงกว่า  2.30  เมตร  ไม่ต้องตัดแต่งอีก


                 2. การสร้างกระโดงยอด
                ต้นยางที่มีกิ่งแขนงข้างแตกออกมาใหม่ 2-3 กิ่ง  และมีความเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน  ในขณะเดียวกันกระโดงยอดเดิมแคระแกรนเลี้ยงกิ่งแขนงข้างเป็นกระโดงยอดแทนไม่เจริญเติบโตต่อไปอีก  ลักษณะเช่นนี้จะต้องตัดทอนยอดของกิ่งแขนงข้าง  เพื่อชะลอการเจริญเติบโต  ให้เหลือกิ่งที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตเป็นกิ่งกระโดงยอดได้ดีเพียงกิ่งเดียว  การตัดทอนนี้จะตัดกิ่งบริเวณใต้ข้อฉัตรโดยเหลือใบของฉัตรนั้นๆ ไว้  4-5 ใบ  เพื่อช่วยปรุงอาหารและป้องกันไม่ให้ตาแตกออกมาใหม่มากเกินไป ในบางกรณีกิ่งแขนงข้างแม้จะแตกออกมาเพียงกิ่งเดียว  แต่มีความสมบูรณ์และแข็งแรงมาก  ในขณะที่ยอดเดิมแสดงอาการแคระแกรนอย่างเด่นชัดก็จำเป็นจะต้องตัดกระโดงยอดเดิมทิ้ง  แล้วเลี้ยงกิ่งแขนงข้างเป็นกระโดงยอดแทน
                                                                                   
                3. การควบคุมทรงพุ่มให้มีพื้นที่ใบที่เหมาะสม
                                การตัดแต่งยางอ่อนในเขตแห้งแล้ง  จำเป็นต้องควบคุมทรงพุ่มเพื่อให้ต้นยางอ่อนสร้างอาหารได้ดี  และป้องกันการแตกกิ่งเป็นกระจุก  เลือกกิ่งที่เจริญออกไปในทิศทางที่สมดุลและกิ่งนั้นควรมีพุ่มใบที่สมบูรณ์  ภายหลังจากเลี้ยงกิ่งให้เจริญเติบโตเป็นทรงพุ่มที่  1.90-2.30  เมตร  ควรตัดกิ่งแขนงให้เหลือเพียง  2-3  กิ่ง  เพื่อให้เป็นกิ่งหลักและให้กิ่งเหล่านี้เจริญต่อไปอีก 2-3  ฉัตรเท่านั้น

การตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันความเสียหายจากลม
                ภายหลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วจะไม่มีการตัดแต่งกิ่งอีก  ถ้าหากต้นยางมีทรงพุ่มแน่นทึบแตกกิ่งก้านไม่สมดุล  ก็ควรทำการตัดแต่งอีกครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีกระแสลมรุนแรง  ควรตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มและกิ่งที่ไม่แข็งแรงหรือมีทิศทางที่ไม่สมดุลออก  เพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งก้านและทรงพุ่มฉีกขาดหรือโค่นล้ม

การตัดแต่งกิ่งยางที่เกิดความเสียหายจากลม
                ควรตัดกิ่งที่ฉีกขาดหรือแตกออกจากลำต้นออกให้หมด  ในขณะเดียวกันต้องตัดแต่งกิ่งที่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งที่เหลืออยู่ออกบางส่วน  เพื่อมิให้ทรงพุ่มหนักไปทางข้างหนึ่งข้างใด  สำหรับต้นต้นยางที่ได้รับความเสียหายเพียงเพียงแต่ทรงพุ่มเอนไปข้างใดข้างหนึ่งมาก  หรือลำต้นโค้งก็ควรตัดแต่งกิ่งด้านที่หนักไม่สมดุลออก  เพื่อป้องกันมิให้ต้นยางโค่นล้ม
 ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง
                1. ควรตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฝนและปลายฝน
                2. เครื่องมือและอุปกรณ์ต้องคมและสะอาด
                3. กรณีที่กิ่งแขนงที่แตกใหม่และยังอ่อนมาก  การตัดจะต้องให้ชิดลำต้นมากที่สุด
                4. กรณีที่กิ่งแขนงใหญ่ควรตัดอย่างน้อย   ครั้ง  ครั้งแรกบริเวณที่ห่างลำต้นพอสมควร  การตัดให้เลื่อยจากด้านล่างของกิ่งก่อน  แล้วกลับมาเลื่อยจากด้านบนลงมา  ครั้งที่สองเป็นการตัดให้ชิดลำต้นตามตำแหน่งที่ต้องการ
                5. กิ่งแขนงที่อยู่สูง  ถ้าต้องการตัดทิ้งห้ามโน้มต้นลงมาตัด  เพราะจะทำให้ไส้ของต้นยางในเนื้อไม้แตก  เป็นเหตุให้ต้นยางตายได้
                6. หลังตัดแต่งให้ทารอยแผลด้วยปูนขาวหรือปูนแดง
                สวนยางที่ปฏิบัติดูแลรักษาเป็นอย่างดีและมีการตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องตามหลักการที่กล่าวมาแล้ว  จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น  มีรูปทรงที่ดี  ลำต้นกลม  เปลือกเรียบ  ง่ายต่อการกรีดเอาน้ำยาง  ทรงพุ่มโปร่ง  สามารถลดความเสียหายเนื่องจากลมหรือโรคต่างๆ ได้
                ในการสร้างสวนยางนอกจากการรู้จักวิธีการตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องแล้ว  ยางพันธุ์ดีบางพันธุ์แตกกิ่งช้าในระยะปีแรกๆ  เช่น  พันธุ์ อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600  หรือ  จี ที 1  ถ้าหากพบปัญหาเช่นนี้  จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้วิธีการสร้างทรงพุ่มให้กับต้นยางควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง  เพื่อเป็นการบังคับให้ต้นยางแตกกิ่งก้านเจริญเติบโตในลักษณะที่สมดุล  จะช่วยให้ต้นยางโตเร็ว  สมบูรณ์แข็งแรง  พร้อมที่จะเปิดกรีดได้ในอนาคต

การสร้างทรงพุ่มยางพาราให้เหมาะสมกับท้องที่แห้งแล้ง
                เป็นวิธีการที่ใช้กับต้นยางที่มีการเจริญเติบโตด้านความสูงเร็วมากในระยะแรก  แตกกิ่งแขนงข้างช้า  ทำให้ต้นสูงชะลูดและอ่อน  เนื่องจากพุ่มฉัตรยอดหนักเกินไป  เช่น  ยางพันธุ์  อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม  600  และพันธุ์ จี ที 1  การสร้างทรงพุ่มเป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางด้านข้างให้แก่ต้นยาง  ทำให้ต้นยางแตกกิ่งในระยะที่เหมาะสม  ลำต้น  คาคบและทรงพุ่ม  แข็งแรงสมดุล  การสร้างพุ่มสามารถสร้างได้หลายวิธีดังนี้
                1. การรวบยอด  จะทำในต้นยางที่มีความสูงประมาณ  2.50  เมตร  นับแต่โคนถึงฉัตรยอด  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำคือ  ขณะที่ฉัตรยอดแก่หรือกำลังเริ่มแตกฉัตรต่อไป  โดยรวบใบบนของฉัตรยอด  2-3  ใบ  คลุมยอดยางที่กำลังแตกออกมาใหม่  ใช้หนังยางรัด  ปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งยางจะแตกแขนงออกมาจากตาก้านใบหลายแขนง  ปล่อยให้แขนงเหล่านั้นเจริญเติบโต  แล้วเลือกตัดแต่งกิ่ง  เอาเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ไว้  2-4  กิ่งเพื่อให้เจริญเป็นพุ่มยางต่อไป

                                2. การครอบยอด  ทำในต้นยางที่มีขนาดอายุและช่วงเวลาเดียวกับการรวบยอด  แตกต่างตรงวิธีการ  คือจะใช้ใบยางจากส่วนอื่นของลำต้น  3  ใบ  ทำเป็นกรวยแล้วนำไปครอบยอดยางที่กำลังจะแตกฉัตรใหม่  ใช้หนังยางรัดเอาไว้เป็นอันเสร็จ  จากนั้นก็ดำเนินการเช่นเดียวกับวิธีแรก


                3. การควั่นรอบต้น  จะใช้วิธีนี้กับต้นยางที่มีอายุมากและขนาดโตกว่าสองวิธีแรก  โดยใช้มีดรูปกรรไกร  (ตัววี  V)  ควั่นรอบลำต้นยางตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดินประมาณ 1.80-2.00  เมตร  หลังควั่นรอบต้นแล้วยางจะแตกยอดออกมาใต้รอยควั่น  ปล่อยให้เจริญจนฉัตรใบแก่  จึงเลือกตัดแต่งเอาเฉพาะกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 2-4  กิ่ง  เพื่อเป็นพุ่มต้นยางต่อไป

แหล่งที่มาaopdr01.doae.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น