Subscribe:

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555


คำแนะนำพันธุ์ยางในประเทศไทย

ตามปกติการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำพันธุ์ยางของประเทศไทย ได้กำหนดไว้ทุกๆ 4 ปี ทั้งนี้เพื่อพิจารณาพันธุ์ยางพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกตามขั้นตอนต่างๆ ในการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ
บางประการมีแนวโน้มดีในอนาคต เช่น ผลผลิต การเจริญเติบโต และการต้านทานโรคเป็นต้น สำหรับคำแนะนำเกษตรกรใช้ปลูกสร้างสวนยางในพื้นที่ปลูกยางเขตต่างๆ ของประเทศต่อไป

จากคำแนะนำพันธุ์ยางฉบับปี พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำพันธุ์ยางสำหรับ
เกษตรกรในแหล่งปลูกยางเดิม ทั้งในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก จำนวน 3 ชั้น ดังนี้

พันธุ์ยางชั้นที่ 1 หมายถึง บางพันธุ์ดีที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก ยางพันธุ์ดีที่แนะนำในชั้นนี้อยู่ระหว่างการศึกษาลักษณะบางประการเพิ่มเติมมีจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ สงขลา 36 , BPM24 , PB260 , PR255 , RRIC110 , PB255 , RRIM600 และสถาบันวิจัยยาง251
พันธุ์ยางชั้น 2 หมายถึง ยางพันธุ์ดีที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยาง ที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูก
ไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางที่แนะนำในชั้นนี้อยู่ระหว่าง การศึกษา ลักษณะบางประการ
เพิ่มเติมมีจำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ BPM1 , PB235 ,  RRIC100 , RRIC101 ,
สถาบันวิจัยยาง250 และสถาบันวิจัยยาง226 
พันธุ์ยางชั้น 3 หมายถึง ยางพันธุ์ดีที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20
ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางที่แนะนำในชั้นนี้ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง
การทดลอง และต้องศึกษาลักษณะต่างๆเพิ่มเติม มีจำนวน 9 พันธุ์ ได้แก่ RRIC121 , PR302 , PR305 , สถาบันวิจัยยาง163,
สถาบันวิจัยยาง209 , สถาบันวิจัยยาง214 , สถาบันวิจัยยาง218 , สถาบันวิจัยยาง225 , และHaiken-2

การทดลองพันธุ์ยางปลูกในที่ลาดชัน
พันธุ์ยางแต่ละพันธุ์ในคำแนะนำดังกล่าวมีการตอบสนองต่อสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะบางพันธุ์ ของต่างประเทศที่เพิ่งจะนำเข้ามา และบางพันธุ์เป็นพันธุ์ที่เพิ่งผ่านการคัดเลือกภายในประเทศ
ปราโมทย์และคณะ(2527) ได้รายงานว่าพื้นที่ปลูกยางที่เป็นภูเขา ในภาคใต้มีความลาดเทสูงถึง 40-60 องศา ซึ่งความลาดเทจะมี อิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ถ้าพื้นที่มีความลาดเทมาก การเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพาราจะลดลง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับการระบาด ของโรคบางชนิดใน
เขตปลูกยางต่างๆ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเลือกพันธุ์ยางปลูกด้วย

ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาสายพันธ ุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ลาดชัน และนำข้อมูล
ใช้ประกอบการ จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยาง โดยพันธุ์ยางที่ใช้ศึกษามีจำนวน 6 พันธุ์ RRIM600 , PB217 , PB260 , BPM24 , สงขลา36 , RRIC110 
แต่ละสายพันธุ์
ปลูกตามความลาดชันของพื้นที่ 2 ระดับ คือ ลาดชันระหว่าง 21-27 องศา และระหว่าง
30-36 องศา

ผลการศึกษาปรากฏว่าพันธุ์ยางที่ปลูกได้สำเร็จสูงทั้ง 2 พื้นที่ ได้แก่ พันธุ์ RRIM600 และ PB217 การเจริญเติบโตของยางเมื่ออายุ 6 ปี ปรากฏว่า
ต้นยางทั้งสองสภาพความลาดชัน เจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบ
การเจริญเติบโตของยางพันธุ์ต่างๆ ในแต่ละความลาดชัน ปรากฏว่า พันธุ์ RRIC110 เจริญเติบโตได้ดีที่สุดทุกระดับความลาดชันในขณะที่ พันธุ์ RRIM600 เจริญเติบโตรองลงมาที่ระดับความลาดชัน 21-27 องศา แต่การเจริญเติบโตจะช้าลงที่ระดับ
ความลาดชัน 30-36 องศา มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปี พบว่าพันธุ์ RRIC110 มีอัตราการเพิ่มสูงสุด
ทั้ง 2 ระดับความลาดชันและจากการประเมินต้นยางที่เป็นโรคปรากฏว่ายางทุกพันธุ์ เป็นโรคที่เกิดจากออยเดียม
และคอลเลโทตริกรัม ในระดับที่แตกต่างกัน คือ พันธุ์ PB217, PB260, RRIC110,สงขลา36 อ่อนแอ - อ่อนแอมาก
ต่อเชื้อออยเดียม พันธุ์ สงขลา36 อ่อนแอ - อ่อนแอมากต่อเชื้อคอลเลโทตริกรัม และพบยางพันธุ์ PB260,
RRIC110, BPM24 ตายด้วยสาเหตุโรครากขาว ร้อยละ 0.5 -1.0


เอกสารอ้างอิง
ศุภมิตร ลิมปชัย และคณะ, การทดสอบพันธุ์ยางในสภาพพื้นที่ลาดชัน ศูนย์วิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตร 2532

 

  แหล่งที่มา sisaket.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น