Subscribe:

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555



การปลูกยางพื้นที่ใหม่ในภาคอีสาน
Para  Rubber  in  North  East  Area

บทนำ
               การปลูกยางเริ่มจากภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไปจรดมาเลเซีย  มาทางภาคตะวันออกแถบจันทบุรี   หลังจากนั้นก็พัฒนามาทางภาคกลางแถบฉะเชิงเทรา  ตะวันตกก็มีแถบกาญจนบุรี  สระบุรีแถบมวกเหล็ก   ขึ้นสู่ภาคเหนือมีพิษณุโลก  เพชรบูรณ์  ตาก  เชียงราย  สู่ภาคตะวัน  ออกเฉียงเหนือมี  นครราชสีมา  ตั้งแต่ปากช่อง  จนถึงเลย  อุดรธานี  หนองคาย  จนถึงประเทศลาว

ยางถุงดำติดตา
               -  ขนาดถุง  11x35  ซม.  ดินสูง  25  ซม  ต้องสูงพอให้รากลงลึกได้  ไม่เน้นกว้างเน้นลึกหากดินถุงแตกจะทำให้รากบาดเจ็บ
               -  ความสูงของยาง  1  ฉัตร  ไม่เกิน  2  ฉัตร  ต้องแข็งแรงพอ ความสูงต้นยางไม่น้อยกว่า  20  ซม.  เพื่อไม่ให้ยางอ่อนไปจะทนแดดไม่ไหว
               -  การขนส่งยางถุงดำ  ควรใช้ตาข่ายคลุม  ป้องกันลมกระแทก ทำให้ใบยางซ้ำ หรือกิ่งถูกตีกระแทกซ้ำ  ให้ถนอมไว้
               -  ให้ตรวจหลุมก่อนปลูกด้วย  ว่ากว้างพอ  ดินข้างหลุมไม่แข็งไม่มีหินดานก้นหลุม
               -  ก่อนปลูกขนยางมาถึงพื้นที่  ให้พักยางอย่างน้อย  7  วันให้ต้นยางพักคัว  ก่อนลงหลุม (ออกศึก)
               -  แถวยางเดียวกันให้โตเท่าๆ  กัน
               -  เหลือยางไว้ไส่ถุงเก็บเอาไว้  เผื่อเอาไว้ปลูกซ่อมเวลาต้องยางที่ปลูกลงดินแล้วเกิดตาย

วิธีการปลูก
               -  ขนาดหลุมปลูก  50x50x50  ซม.
               -  ช่วงเวลาที่ปลูกมีต้นฝน  พฤษภาคม-กรกฎาคม
               -  ต้นยางที่ปลูก  1-2  ฉัตร  ลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์ยอดไม่อ่อน วางไว้สู้แดดแล้ว
               -  ให้ตาที่ติดต้นหันไปทางเดียวกันแนะนำหันไปทางทิศตะวันตกให้ตาหลบแดด
               -  วิธีการปลูกเริ่มจากการใช้มีดตัดก้นถุงให้ขาด  ระวังหากรากลงก้นทะลุดินแล้วถึงต้องตัดจะทำให้ต้นยางเสียกำลัง
               -  กรีดด้านข้างถุงตามยาวแนวสูง
               -  วางลงกันหลุม
               -  กลบดินทับรอบๆ  ถุง  อย่าให้ดินหลุด
               -  ดึงถุงดำจากดิน
               -  กลบดินให้เสมอดินในถุง
               -  อย่าให้ดินกลบถึงตาต้นหรือทำให้ทรายหรือดินมากลบจะทำให้ดินทรายร้อนลวกตายางทำให้ต้นยางตายได้
               -  ปักไม้  (ไผ่)  ผูกยางกับหลักเพื่อไม่ให้ต้นยางโยกเวลาถูกลมพัดกระชาก
               -  ยางเหลือ  เก็บไว้ในร่มรอไว้ปลูกซ่อม
               -  1  เดือน  ไปดูยางที่ปลูกหากพบว่าตายให้ปลูกซ่อมทันทีเพื่อให้ยางโตไล่ได้ทัน

การใส่ปุ๋ย
               -  ใส่ปุ๋ยปีแรก  3  ครั้ง  ใช้ปุ๋ยสูตร  20-10-12
               -  ต้นละ  1  กำมือ  โรยรอบต้น  หรือขุดหลุมฝังปุ๋ย  4  จุด ในกรณีพื้นที่ราบ
               -  พื้นที่ลาดใช้ฝังปุ๋ย  2  จุด  ด้านบนความลาดเหนือต้นยางที่ปลูก
               -  ใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์  1  กก./ตัน

ต้นพืชแซมยาง
               ต้นพืชแซมในสวนยางมีข้าวไร่  ข้าวโพด  สัปรด  (บางแห้งนิยมเผาไร่ข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว  แบบนี้ระวังไฟไหม้ต้นยาง)  ให้ปลูกพืชแซมยาง  ห่างจากต้นยาง  1  เมตร  หรือห่างจากแถวยางข้างละ  1  เมตร  ปลูกพืชแซมยางช่วงปีที่  1-3  การปลูกพืชแซมจะช่วยกำจัดวัชพืชด้วย

พืชคลุมดิน
         พืชคลุมดินในสวนยางจะช่วยเพิ่มอินทรีย์สารรักษาความชื้นในสวนยางปัญหาในปัจจุบันก็คือ  หาเมล็ดพันธุ์พืชคลุมยากส่วนใหญ่ได้มาจากสถานีพัฒนาที่ดิน

การดูแลต้นยางปีที่  1
               -   ใช้ปุ๋ยสูตร  20-10-12  ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่  7  (จนถึงกรีดยาง)
               -  ใส่ปุ๋ย  2  ช่วง  ฝน  ต้นฝน  และปลายฝน
               -  เอาวัชพืชออกก่อนรอบโค่นต้นรัศมี  1  เมตร  ใช้ต้นละ  80  กรัม
               -  ตัดแต่งกิ่งปีที่  1  ช่วงปลายฝน  ตัดริดลำต้นเหลือยอดไว้ใช้สีน้ำมันหรือปูนขาวทาแผลที่จุดตัด  ให้ตัดกิ่งแขนงเหลือกิ่งกระโดงกิ่งเดียวยอดยางสูงไม่ยอมแตกกิ่ง  ห้ามตัดยอดเด็ดขาดเพราะต้องการเลี้ยงต้นให้สูงตรงระยะกรีดมาก

การดูแลยางในพื้นที่แห้งแล้ง
               -  หากหมดฝน  6-7  เดือน  ฝนน้อยดินขาดความชื้นหากเป็นยางต้นเล็กยังอ่อนอยู่จะชงักการเติบโตและอาจแห้งตาย
               -  หน้าแล้งให้คลุกโดนด้านยางด้วย  หญ้า  ฟางข้าว  เศษหญ้าคา  ให้พิจารณาของถูกหาง่ายในท้องถิ่นมาทดแทนโดยเฉพาะยางที่มีอายุ  0-3  ปี  เว้นห่างโดนต้น  1  คืบ  คลุมกว้างรัศ  1  เมตร  จากต้น  การคลุมฟางหญ้าจะทำให้รักษาความชื้นบริเวณต้นยางได้
               -  ให้คลุมก่อนเข้าหน้าแล้ง  1  เดือน  หรือในขณะที่ดินยังชื้นอยู่
               -  การคลุมอาจคลุมเป็นวงกลมรอบโคนต้นหรือคลุมเป็นแถวต้นยางก็ได้

การป้องกันต้นยางจากความร้อน
               -  เข้าหน้าแล้งให้ดูเปลือกยางเป็นแผลไหม้จากแสงแดดหากพบให้ใช้ปูนขาวละเลงน้ำทาต้นยางสูงจากดิน  1  เมตร
               -  รักษาแผลยางโดยใช้สีน้ำมันทาสีแผล
               -  ระวังไฟไหม้สวนยางโดยทำแนวกันไฟด้วยถนนหรือที่ว่างที่ปราศจากเชื้อไฟ  โดยรอบสวนยางหรือใช้รถไถหญ้าออกไปกว้างอย่างน้อย  3  เมตร
               -  การทำให้  Buffer  Zone  โดยการใช้ร่องเขาทำฝายชะลอน้ำใช้ป่าไผ่ชื้นกันไฟ  การใช้ต้นไม้อื่นปลูกไว้ที่แดนติดต่อกับไร่คนอื่น

การดูแลต้นยางปีที่  2
               -  หากพบยางตายให้ปลูกซ่อมต้นฝนโดยใช้ยาง  2  ฉัตร
               -  แบ่งใส่ปุ๋ย  3  ครั้ง
               -  ใช้สูตร  20-10-12  ปริมาณ  110  กรัม/ตัน  (ครึ่งกระป๋องนม)  โดยการหว่านเป็นวงกลมแล้วคราดกลบ
               -  ที่ลาดเทใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรรีย์ 2  จุด  แล้วกลบ
               -  ครั้งที่  2  และ  3  ช่วง  ต้นฝน  110  กรัม/ตัน  และปลายฝน  120  กรัม/ต้น

การดูแลต้นยางปีที่  3
               -  แบ่งปุ๋ย  2  ครั้ง  สูตร  20-10-12  ต้นฝนและปลายฝนครั้งละ  180  กรัม/ต้น
               -  ใส่โดยการขีดทางยาวขนานแถวยางห่าง  1  เมตร  ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
               -  ช่วงนี้ใบยางเริ่มคลุม
               -  ยางผลัดใบ  ผลิตใบ  ออกดอก  ให้กวาดใบยางไปไว้แถวๆ  กลางแถวยางเพื่อป้องกันไฟไหม้ใกล้ๆ  ต้นยาง

การดูแลต้นยางปีที่  4
         -  ยางเริ่มมีทรงพุ่มติดกัน
               -  ห้ามไถระหว่างแถวจะตัดรากขาด  ยางจะเสียกำลัง
               -  ใส่ปุ๋ย  2  ครั้ง  สูตร  20-10-12  ช่วงต้นฝนและปลายฝน  180  กรัม/ตัน
               -  ใส่  2  แถบ  ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ต้นละ  2  กก.
               -  กวาดใบยางไปอยู่กลางระหว่างแถวยาง

การดูแลต้นยางปีที่  5-6 
               -  ใช้ปุ๋ยปีละ  2  ครั้ง   ต้นฝน-ปลายฝน
               -  ใส่ระหว่างแถว
               -  ดูโรคทางราก

วางแผนการเก็บเกี่ยวยาง
         -  เส้นรอบวงลำต้นระยะสูงจากพื้นดิน  150  ซม.  หากมากกว่า  50  ซม.  มากกว่าครึ่งสวน  ต้นยางก็พร้อมที่จะกรีดได้
               -  เตรียมอุปกรณ์มีมีดกรีดยาง จอกยาง  รางน้ำยาง ลวดรับถ้วยกับลำต้นยาง
               -  กรีดรอยแรกที่ระดับสูง  150  ซม  จากพื้นวัดมุม  30  องศา  ขีดเส้นเอียงยาว  30  ซม.  ที่กรีดครึ่งต้น
               -  ความหนาที่กรีดน้อยกว่า  2.5  ซม.
               -  ความสามารถในการกรีดยางคนละ  500  ต้น/วัน

การทำยางแผ่น
               - ทำแผ่นยางดิบ
               -  รวบรวมน้ำยางใส่ถัง  ฝาปิด  กรองน้ำยางลงในถาด 50
               -  ใช้กรดฟอมิกเข้มข้น  90%  2  ช้อนแกงกับน้ำ  3  กระป๋องนม
         -  เทน้ำยาลงไปกวนให้เข้ากัน
               -  ใช้พายปาดฟองออก
               -  ปิดฝาถาดทิ้งไว้  30-45  นาที
               -  ยางจะจับตัวเป็นก้อน  เอาน้ำหล่อไว้
               -  เทยางออกจากถาดลงวางบนโต๊ะ
               -  ใช้เหล็กนวดยางให้แผ่ออกให้แบนๆ
               -  เอาเข้าเครื่องรีด  3-4  ครั้ง
               -  รีดดอก  1  ครั้ง
               -  เอายางไปล้างน้ำให้สะอาด  ไล่กรดออก
               -  เอายางไปพึ่งในร่ม  6  ชั่วโมง
               -  เก็บยางในโรงเรียน  15  วัน  รอจำหน่าย

ยางแผ่นที่ดี
               -  ไม่มีฟองอากาศ
               -  ความชื้นน้อยกว่า  1.5% 
         -  ยืดหยุ่น
               -  ดอกคมชัด
               -  หนาน้อยกว่า  3  มม.
               -  ยางแห้งใส
               -  สีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
               -  น้ำหนัก  800-1200  กรัม/แผ่น
               -  ขนาดกว้าง  38-46  ซม.  ยาว  80-90  ซม.

การขายยางแผ่น
               -  รวบรวมหลายๆ  คน  แล้วขาย
               -  แยกขายของใครก็เอาไปขายเอง


แหล่งที่มา budmgt.com


ยางพารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยางพารา
Hevea brasiliensis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom:Plantae
Division:Magnoliophyta
Class:Magnoliopsida
Order:Malpighiales
Family:Euphorbiaceae
Subfamily:Crotonoideae
Tribe:Micrandreae
Subtribe:Heveinae
Genus:Hevea
Species:H. brasiliensis
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hevea brasiliensis
Müll.Arg.
ต้นยางพาราเป็นต้นไม้ยืนต้น [1] มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่าว่า ยางลบหรือตัวลบ [Rubber] ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ในอเมริกาใต้มีศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา (Para) จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา [2]

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]การปลูกยางในประเทศไทย

การปลูกยางในประเทศไทยไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา" [1] และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรัง และนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี หรือ ปูม ปุณศรี เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพารา ไปทั่วทั้ง 14 จังหวัด ในภาคใต้ และ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ยางพาราก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา สามารถทำรายได้การส่งออกเป็นอันดับสองของประเทศ ยางพาราจึงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการส่งออกยางธรรมชาติมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริง มีประมาณ 12.4 ล้านไร่เท่านั้น

[แก้]การกรีดยาง

การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีดซึ่งต้องคมอยู่เสมอ[1]
  • เวลากรีดยาง : ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย
  • การหยุดพักกรีด : ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้
  • การเพิ่มจำนวนกรีด : สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย
    • การเพิ่มวันกรีด : สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก
    • การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน
    • การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด

[แก้]โรคและแมลงศัตรูยางพารา

1.โรคใบร่วงและฝักเน่า[3] : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการใบยางร่วงในขณะที่ใบยังสด
2.โรคราแป้ง : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการปลายใบอ่อนบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีดำและร่วง ใบแก่มีปุยสีขาวเทาใต้ใบ เป็นแผลสีเหลืองก่อนที่จะเป็นเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล

[แก้]แกลเลอรี่

Commons

[แก้]อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 เสาวณีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, การผลิตยางธรรมชาติ, 2547, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  2. ^ ประวัติยางพารา โดยองค์การสวนยาง
  3. ^ พูลผล ธรรมธวัช, ยางพารา, เซาเทิร์นรับเบอร์, สงขลา, หน้า 312-314

ความเป็นมา
          ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้ยางว่า คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปีพศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถลบ รอยดำของดินสอได้โดยที่กระดาษไม่เสีย จึงเรียกยางว่า ยางลบหรือตัวลบ [Rubber] ซึ่งเป็น คำเรียกยางเฉพาะในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ส่วนใน ประเทศยุโรปอื่นๆ ในสมัยนั้น ล้วนเรียกยางว่า คาอุท์ชุก ทั้งสิ้น จนถึงสมัยที่โลกได้มีการปลูกยางกันมากในประเทศแถบ อเมริกาใต้นั้น จึงได้ค้นพบว่า พันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis ซึ่ง มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ Hevea ธรรมดามาก จึงมีการปลูกและซื้อขายยางพันธุ์ดังกล่าวกัน มาก และศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา [Para] บนฝั่งแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ด้วยเหตุดังกล่าว ยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยางพารา และเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ 
          ยางมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ มีความยืดหยุ่น [Elastic] กัน น้ำได้ เป็นฉนวนกันไฟได้ เก็บและพองลมได้ดี เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์จึงยังจะต้องพึ่งยางต่อ ไปอีกนาน แม้ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถผลิตยางเทียมได้แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติบางอย่าง ของยางเทียมก็สู้ยางธรรมชาติไม่ได้ ในโลกนี้ยังมีพืชอีกมากมายหลายชนิดที่ให้น้ำยาง [Rubber Bearing Plant] ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆ ชนิดในทวีปต่างๆ ทั่วโลก แต่น้ำยางที่ได้จาก ต้นยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดก็ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ยาง บางชนิดเช่น ยางกัตตาเปอร์ชาที่ได้จากต้นกัตตา [Guttar Tree] ใช้ทำยางสำเร็จรูปเช่น ยางรถยนต์ หรือรองเท้า ไม่ได้แต่ใช้ทำสายไฟได้ หรือยางเยลูตง และยางบาลาตา ที่ได้ จากต้นยางชื่อเดียวกัน ถึงแม้จะมีความเหนียวของยาง [Natural Isomer of Rubber] อยู่ บ้าง แต่ก็มีเพียงสูตรอณู [Melecular Formula] เท่านั้นที่เหมือนกัน แต่โดยที่มี HighRasin Content จึงเหมาะที่จะใช้ทำหมากฝรั่งมากกว่า ยางที่ได้จากต้น Achas Sapota ในอเมริกา กลาง ซึ่งมีความเหนียวกว่ายางกัตตาเปอร์ชาและยางบาลาตามาก คนพื้นเมืองเรียกยางนี้ ว่า ชิเคิ้ล [Chicle] ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตหมากฝรั่งที่ทำมาจากยางชนิดนี้จึงตั้งชื่อหมากฝรั่ง นั้นว่า Chiclets 



 แหล่งที่่มา reothai.co.th


คำแนะนำพันธุ์ยางในประเทศไทย

ตามปกติการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำพันธุ์ยางของประเทศไทย ได้กำหนดไว้ทุกๆ 4 ปี ทั้งนี้เพื่อพิจารณาพันธุ์ยางพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกตามขั้นตอนต่างๆ ในการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ
บางประการมีแนวโน้มดีในอนาคต เช่น ผลผลิต การเจริญเติบโต และการต้านทานโรคเป็นต้น สำหรับคำแนะนำเกษตรกรใช้ปลูกสร้างสวนยางในพื้นที่ปลูกยางเขตต่างๆ ของประเทศต่อไป

จากคำแนะนำพันธุ์ยางฉบับปี พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำพันธุ์ยางสำหรับ
เกษตรกรในแหล่งปลูกยางเดิม ทั้งในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก จำนวน 3 ชั้น ดังนี้

พันธุ์ยางชั้นที่ 1 หมายถึง บางพันธุ์ดีที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก ยางพันธุ์ดีที่แนะนำในชั้นนี้อยู่ระหว่างการศึกษาลักษณะบางประการเพิ่มเติมมีจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ สงขลา 36 , BPM24 , PB260 , PR255 , RRIC110 , PB255 , RRIM600 และสถาบันวิจัยยาง251
พันธุ์ยางชั้น 2 หมายถึง ยางพันธุ์ดีที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยาง ที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูก
ไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางที่แนะนำในชั้นนี้อยู่ระหว่าง การศึกษา ลักษณะบางประการ
เพิ่มเติมมีจำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ BPM1 , PB235 ,  RRIC100 , RRIC101 ,
สถาบันวิจัยยาง250 และสถาบันวิจัยยาง226 
พันธุ์ยางชั้น 3 หมายถึง ยางพันธุ์ดีที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20
ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางที่แนะนำในชั้นนี้ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง
การทดลอง และต้องศึกษาลักษณะต่างๆเพิ่มเติม มีจำนวน 9 พันธุ์ ได้แก่ RRIC121 , PR302 , PR305 , สถาบันวิจัยยาง163,
สถาบันวิจัยยาง209 , สถาบันวิจัยยาง214 , สถาบันวิจัยยาง218 , สถาบันวิจัยยาง225 , และHaiken-2

การทดลองพันธุ์ยางปลูกในที่ลาดชัน
พันธุ์ยางแต่ละพันธุ์ในคำแนะนำดังกล่าวมีการตอบสนองต่อสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะบางพันธุ์ ของต่างประเทศที่เพิ่งจะนำเข้ามา และบางพันธุ์เป็นพันธุ์ที่เพิ่งผ่านการคัดเลือกภายในประเทศ
ปราโมทย์และคณะ(2527) ได้รายงานว่าพื้นที่ปลูกยางที่เป็นภูเขา ในภาคใต้มีความลาดเทสูงถึง 40-60 องศา ซึ่งความลาดเทจะมี อิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ถ้าพื้นที่มีความลาดเทมาก การเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพาราจะลดลง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับการระบาด ของโรคบางชนิดใน
เขตปลูกยางต่างๆ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเลือกพันธุ์ยางปลูกด้วย

ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาสายพันธ ุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ลาดชัน และนำข้อมูล
ใช้ประกอบการ จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยาง โดยพันธุ์ยางที่ใช้ศึกษามีจำนวน 6 พันธุ์ RRIM600 , PB217 , PB260 , BPM24 , สงขลา36 , RRIC110 
แต่ละสายพันธุ์
ปลูกตามความลาดชันของพื้นที่ 2 ระดับ คือ ลาดชันระหว่าง 21-27 องศา และระหว่าง
30-36 องศา

ผลการศึกษาปรากฏว่าพันธุ์ยางที่ปลูกได้สำเร็จสูงทั้ง 2 พื้นที่ ได้แก่ พันธุ์ RRIM600 และ PB217 การเจริญเติบโตของยางเมื่ออายุ 6 ปี ปรากฏว่า
ต้นยางทั้งสองสภาพความลาดชัน เจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบ
การเจริญเติบโตของยางพันธุ์ต่างๆ ในแต่ละความลาดชัน ปรากฏว่า พันธุ์ RRIC110 เจริญเติบโตได้ดีที่สุดทุกระดับความลาดชันในขณะที่ พันธุ์ RRIM600 เจริญเติบโตรองลงมาที่ระดับความลาดชัน 21-27 องศา แต่การเจริญเติบโตจะช้าลงที่ระดับ
ความลาดชัน 30-36 องศา มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปี พบว่าพันธุ์ RRIC110 มีอัตราการเพิ่มสูงสุด
ทั้ง 2 ระดับความลาดชันและจากการประเมินต้นยางที่เป็นโรคปรากฏว่ายางทุกพันธุ์ เป็นโรคที่เกิดจากออยเดียม
และคอลเลโทตริกรัม ในระดับที่แตกต่างกัน คือ พันธุ์ PB217, PB260, RRIC110,สงขลา36 อ่อนแอ - อ่อนแอมาก
ต่อเชื้อออยเดียม พันธุ์ สงขลา36 อ่อนแอ - อ่อนแอมากต่อเชื้อคอลเลโทตริกรัม และพบยางพันธุ์ PB260,
RRIC110, BPM24 ตายด้วยสาเหตุโรครากขาว ร้อยละ 0.5 -1.0


เอกสารอ้างอิง
ศุภมิตร ลิมปชัย และคณะ, การทดสอบพันธุ์ยางในสภาพพื้นที่ลาดชัน ศูนย์วิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตร 2532

 

  แหล่งที่มา sisaket.go.th

การปลูกสร้างสวนยางพารา

 
แหล่งปลูก
                สภาพพื้นที่ : เป็นพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ควรเกิน  600  เมตร  เป็นพื้นที่ราบหรือมีความลาดเอียงต่ำกว่า  35  องศา  ถ้าความลาดเอียงเกิน  15  องศา ต้องทำขั้นบันไดและปลูกพืชคลุมดิน  เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน ไม่เป็นแหล่งที่มีน้ำท่วมขัง
               ลักษณะดิน : เป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย  เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์  หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า  1  เมตรและไม่มีชั้นหินแข็งหรือดินดาน  ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า  1 เมตร  การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี  มีค่าความเป็นกรด  ด่างที่เหมาะสม  ประมาณ  4.5  5.5
                สภาพภูมิอากาศ : ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า  1,250 มิลลิเมตรต่อปีและมีจำนวนวันฝนตกเฉลี่ยประมาณ 120  150  วัน
                แหล่งน้ำ : อาศัยน้ำฝน
พันธุ์ยาง
                พันธุ์ยางพันธุ์ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
                                1. ให้ผลผลิตสูง
                                2. การเจริญเติบโตดี
                                3. มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                                4. ต้านทานโรคในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงดี
                พันธุ์ยางที่แนะนำของกรมวิชาการเกษตร  ปี  2546  มี  3  กลุ่ม  ดังนี้
                กลุ่มที่  1  พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง  ที่แนะนำให้ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่
                                สถาบันวิจัยยาง251  RRIM600  ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะดังนี้
                                สถาบันวิจัยยาง  251 (RRIT  251)
                                   ผลผลิตเฉลี่ย  10  ปี  457  กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี   การเจริญเติบโตปานกลาง  เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง   ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น  วันเว้นวัน   ต้านทานโรคเส้นดำดี  ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา  โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน  และโรคราสีชมพูปานกลาง  มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย   ต้านทานลมปานกลาง   ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน  พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น  และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
                                พันธุ์  RRIM  600
                                    ผลผลิตเฉลี่ย  289  กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลาง  เมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยางผลผลิตลดลงมากในช่วงผลัดใบในพื้นที่แห้งแล้ง               การเจริญเติบโตปานกลาง  เปลือกเดิมบาง  และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง  ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น  วันเว้นวัน  ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนปานกลาง  อ่อนแอต่อโรคราสีชมพู  อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ  มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย   ต้านทานลมปานกลาง     ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน  ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น  และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง  
                                    ข้อสังเกต  ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระบาดอย่างรุนแรง
การปลูก
                การเตรียมพื้นที่
                 ทำการไถพลิก  และไถพรวนอย่างน้อย  2  ครั้ง  พร้อมทั้งเก็บตอไม้  เศษไม้  และวัชพืชออกให้หมดเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการปลูกสร้างสวนยาง สำหรับพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า  15  องศา  จะต้องวางแนวปลูกตามขั้นบันได  วางแนวปลูกตามแนวตะวันออก  ตะวันตก

                ระยะปลูก 
                2.5  X  8.0   เมตร  หรือ  3.0  X  7.0  เมตร ในแหล่งปลูกยางเดิม
                2.5  X  7.0   เมตร  หรือ  3.0  X  6.0  เมตร  ในแหล่งปลูกยางใหม่
                ขนาดของหลุม 
50  X  50  X  50  เซนติเมตร  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต  หลุมละ  170  กรัม  ในแหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์  5  กิโลกรัมต่อต้นรองก้นหลุมร่วมกับหินฟอสเฟต
    
                วิธีการปลูก   
                ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน  ใช้ต้นยางชำถุงขนาด 1 – 2 ฉัตร  ควรเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง  ปราศจากโรคและแมลงศัตรู  ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม  ใช้มีดเฉือนก้นถุงออกประมาณ   3  เซนติเมตร  แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดออกจากกันแต่ยังไม่ดึงถุงออก  นำไปวางในหลุมกลบดินลงหลุมจนเกือบเต็มหลุม  แล้วดึงถุงพลาสติกออกระวังอย่าให้ดินในถุงพลาสติกแตก  กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดินให้แน่น  โดยให้ดินบริเวณโคนต้นยางสูงกว่าเล็กน้อย  เพื่อมิให้น้ำขังในหลุมปลูก  หากต้นยางตายหลังปลูก  ควรปลูกซ่อมก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย  2  เดือน  และไม่ควรปลูกซ่อม  เมื่อต้นยางอายุ  2  ปี  ขึ้นไป  ก่อนเข้าฤดูแล้ง ควรใช้เศษพืชคลุมบริเวณรอบโคนต้นยาง ห่างจากต้นยางประมาณ 5-10  เซนติเมตร
                                           
                การเตรียมความพร้อมต้นพันธุ์ยางก่อนนำไปปลูก
                                เพื่อให้ต้นพันธุ์ยางพาราที่จะนำไปปลูกมีความพร้อมที่จะนำไปปลูก  ให้ต้นมีความทนทาน  มีโอกาสรอดตายสูง  เกษตรกรควรปฏิบัติดังนี้
                                1. ไม่ควรนำต้นพันธุ์ที่ขนส่งมาถึงไปปลูกในทันที  ควรพักต้นอยู่ในเรือนเพาะชำก่อนอย่างน้อย  1-2   สัปดาห์  โดยเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่ใกล้แปลงปลูกมากที่สุด  และสามารถให้น้ำได้สะดวก
                                2. อนุบาลต้นพันธุ์โดยการให้น้ำวันละ  1  ครั้ง 
                                3. ก่อนปลูกประมาณ  10  วัน  ลดการให้น้ำลงเป็น  วันเว้นวัน
                                4. ก่อนปลูกราว 2  3 วัน  ให้งดน้ำ  เพื่อให้ดินในถุงแข็งตัว  เมื่อขนส่งหรือปลูกดินจะไม่แตก  และเป็นการเตือนต้นยางและระบบรากยางให้เตรียมพร้อมรับสภาพเครียด

การดูแลรักษา
                การปลูกพืชคลุมดิน
                พื้นที่ระหว่างแถวยางที่ไม่ปลูกพืชแซมยาง  ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วในช่วงเวลาเดียวกันกับการปลูกยาง  เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ  ป้องกันการชะล้างพังทลาย  และควบคุมวัชพืช
                ชนิดของพืชคลุมดินตระกูลถั่วที่แนะนำ  คือ คาโลโปโกเนียม  เซนโตรซิมา  เพอราเรีย 
ในอัตราส่วน  5:4:1  2:2:1  0:3:1  1:2:0  1:1:0  โดยน้ำหนัก  หรือเพอราเรียอย่างเดียวในอัตราปลูก  1.0  กิโลกรัมต่อไร่
                เตรียมเมล็ดพันธุ์โดยแช่เมล็ดพันธุ์น้ำอุ่น (น้ำเดือด :  น้ำ  2:1)  2  ชั่วโมง
                วิธีปลูกโดยหว่านหรือโรยเป็นแถว   3  แถว  ระหว่างแถวยางห่างจากแถวยาง  1.0  1.5  เมตร
                ใส่ปุ๋ยบำรุงพืชคลุมโดยหว่านปุ๋ยหินฟอสเฟตในแถวพืชคลุมอัตรา  15  และ  30  กิโลกรัมต่อต้น  เมื่อพืชคลุมดินอายุ  2  และ  5  เดือน  ตามลำดับ  หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยหินฟอสเฟตในบริเวณ  พืชคลุมอัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อพืชคลุมอายุ  9  เดือนและต่อไปปีละครั้ง
                การให้ปุ๋ย
                                ระยะก่อนเปิดกรีด
                                ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร  20  8  20  สำหรับยางพาราในแหล่งปลูกยางเดิม  และสูตร  20  10  12 สำหรับยางพาราในแหล่งปลูกยางใหม่  อัตราและเวลาใส่ปุ๋ยตามชนิดของดิน  และอายุของต้นยาง  ตามตารางที่ 1
                                ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา  2  กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะในแหล่งปลูกยางใหม่
                                ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่านรอบต้นหรือโรยเป็นแถบ  2  ข้างต้นยาง  บริเวณทรงพุ่มของใบยางแล้วคราดกลบ  กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย (พื้นที่ลาดเท  ควรใส่ปุ๋ยโดยวิธีการขุดหลุม  2  จุด  บริเวณทรงพุ่มของใบยาง  แล้วกลบเพื่อลดการชะล้าง)
ใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นไม่ควรใส่ปุ๋ยในฤดูแล้งหรือมีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน
                                ระยะหลังเปิดกรีด
                                ควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ของดิน  สำหรับคำแนะนำทั่วไป  คือ  ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 30  5  18  อัตรา  1  กิโลกรัมต่อต้นต่อปี  แบ่งใส่  2  ครั้ง  ในช่วงต้นฤดูฝน  และปลายฤดูฝน   ใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่านหรือโรยเป็นแถบบริเวณระหว่างแถวยางแล้วกลบ

ตารางที่  1  เวลาและอัตราปุ๋ยสูตรสำเร็จที่ใช้กับต้นยางก่อนเปิดกรีด

ปีที่
อายุต้นยางเดือน
อัตราปุ๋ย (กรัม/ต้น)
แหล่งปลูกยางเดิม
แหล่งปลูกยางใหม่
ดินร่วนเหนียว
ดินร่วนทราย
ดินทุกชนิด
1
2
70
100
60

5
100
140
80

11
130
170
100
2
14
150
200
110

16
150
210
110

23
150
210
120
3
28
230
320
180

36
230
320
180

40
240
330
180
4
47
240
330
180

52
260
360
200
5
59
260
360
200

64
270
370
200
6
71
270
370
200

หมายเหตุ  เวลาใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน  แหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี

การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
                เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยหรือเป็นทางเลือกในการใส่ปุ๋ยเคมี  หากเกษตรกรไม่สามารถหาสูตรปุ๋ยที่แนะนำในท้องตลาด  เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยที่มีสูตรใกล้เคียงหรือผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง  แม่ปุ๋ยที่นำมาใช้ในการผสมปุ๋ยเคมีได้แก่  ปุ๋ยไดแอมโมเนียฟอสเฟต (18 -46  0)  ปุ๋ยยูเรีย  (46  0  0)  และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0  0 - 60)  ปริมาณแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผสมปุ๋ย สูตรต่างๆ  จำนวน  100  กิโลกรัม แสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2  ปริมาณแม่ปุ๋ยและสารตัวเติม (กิโลกรัม)ในการผสมปุ๋ยตามคำแนะน้ำหนัก  100  กิโลกรัม

สูตรปุ๋ย
ไดแอมโมเนียม
ฟอสเฟต
18-46-0
ยูเรีย

46-0-0
โพแทสเซียม
คลอไรด์
0-0-60
สารตัวเดิม
ทรายดินร่วน
20-8-20
18
38
34
10
20-10-12
22
36
20
22
30-5-18
10
60
30
0

การตัดแต่งกิ่งยางพาราในท้องที่แห้งแล้ง
                ยางพาราที่ปลูกในท้องที่แห้งแล้งจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่มให้เหมาะสม  และเป็นการเตรียมพื้นที่บริเวณลำต้นให้เหมาะสมที่จะใช้กรีดยางได้  การตัดแต่งกิ่งที่ดีจะช่วยให้ต้นยางมีทรงพุ่มแข็งแรง  ลดปัญหาความเสียหายที่เกิดจากลมและโรคยางต่างๆ  ต้นยางพาราที่มีทรงพุ่มดีจะมีการเจริญเติบโตได้เร็ว  ให้ผลผลิตสูงและต่อเนื่องในช่วงหลังเปิดกรีดได้ยาวนานการตัดแต่งกิ่งอาจแบ่งออกตามวัตถุประสงค์และวิธีการตัดแต่งได้  3  ลักษณะ  คือ
                1. การตัดแต่งกิ่งต้นยางอ่อน
                ควรหมั่นตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ  หลังจากปลูก  2  เดือน  เพื่อให้ลำต้นเรียบสะดวกต่อการเปิดกรีดระยะปกติและระบบเปิดกรีดยางหน้าสูง  ลักษณะทรงพุ่มที่ดี  ควรมีทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปตัววี  หรือทรงกรวยหงาย  โดยเลี้ยงกิ่งกระโดงให้สมบูรณ์แข็งแรง  ส่วนกิ่งแขนงเลือกกิ่งที่ทำมุมกว้างกับลำต้น  และมีกิ่งรองน้อยแผ่รอบทรงพุ่มอย่างสมดุล  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 
                ระยะที่ 
1  ต้นฤดูฝนปีที่ 1  ตัดแต่งกิ่งแขนงข้างที่แตกต่ำกว่า  30  ซม.  จากพื้นดิน  และหมั่นตรวจรอยตัดอย่างสม่ำเสมอ  หากพบว่ามีกิ่งแขนงแตกออกมาใหม่ให้ตัดออก  ส่วนกิ่งแขนงข้างที่สูงกว่า  30  ซม. คัดเลือกเลี้ยงไว้  2-3   กิ่ง  เพื่อเพิ่มพื้นที่ใบให้เหมาะสม


           ระยะที่ 2  ต้นฤดูฝนปีที่ 2  ตัดกิ่งแขนงข้างทุกกิ่งที่แตกต่ำกว่า  1  เมตร  จากพื้นดิน  และหมั่นตรวจรอยตัดอย่างสม่ำเสมอ  หากพบว่ามีกิ่งแขนงเริ่มแตกออกมาใหม่ให้ตัดออก  ส่วนที่แตกสูงกว่า  1  เมตร  จะตัดออกก็ต่อเมื่อมีกิ่งที่ระดับ  1.90-2.30  เมตร  แตกออกมาแล้วหรือกิ่งแขนงที่เลี้ยงไว้เจริญเติบโตมากกว่า  3  ฉัตร  เพื่อเลี้ยงทรงพุ่มในระยะที่  3  ให้เร็วที่สุด


                ระยะที่
 3  ปลายฤดูฝนปีที่ 2  กิ่งแขนงข้างทุกกิ่งที่แตกสูงกว่า  2.30  เมตร  ไม่ต้องตัดแต่งอีก


                 2. การสร้างกระโดงยอด
                ต้นยางที่มีกิ่งแขนงข้างแตกออกมาใหม่ 2-3 กิ่ง  และมีความเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน  ในขณะเดียวกันกระโดงยอดเดิมแคระแกรนเลี้ยงกิ่งแขนงข้างเป็นกระโดงยอดแทนไม่เจริญเติบโตต่อไปอีก  ลักษณะเช่นนี้จะต้องตัดทอนยอดของกิ่งแขนงข้าง  เพื่อชะลอการเจริญเติบโต  ให้เหลือกิ่งที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตเป็นกิ่งกระโดงยอดได้ดีเพียงกิ่งเดียว  การตัดทอนนี้จะตัดกิ่งบริเวณใต้ข้อฉัตรโดยเหลือใบของฉัตรนั้นๆ ไว้  4-5 ใบ  เพื่อช่วยปรุงอาหารและป้องกันไม่ให้ตาแตกออกมาใหม่มากเกินไป ในบางกรณีกิ่งแขนงข้างแม้จะแตกออกมาเพียงกิ่งเดียว  แต่มีความสมบูรณ์และแข็งแรงมาก  ในขณะที่ยอดเดิมแสดงอาการแคระแกรนอย่างเด่นชัดก็จำเป็นจะต้องตัดกระโดงยอดเดิมทิ้ง  แล้วเลี้ยงกิ่งแขนงข้างเป็นกระโดงยอดแทน
                                                                                   
                3. การควบคุมทรงพุ่มให้มีพื้นที่ใบที่เหมาะสม
                                การตัดแต่งยางอ่อนในเขตแห้งแล้ง  จำเป็นต้องควบคุมทรงพุ่มเพื่อให้ต้นยางอ่อนสร้างอาหารได้ดี  และป้องกันการแตกกิ่งเป็นกระจุก  เลือกกิ่งที่เจริญออกไปในทิศทางที่สมดุลและกิ่งนั้นควรมีพุ่มใบที่สมบูรณ์  ภายหลังจากเลี้ยงกิ่งให้เจริญเติบโตเป็นทรงพุ่มที่  1.90-2.30  เมตร  ควรตัดกิ่งแขนงให้เหลือเพียง  2-3  กิ่ง  เพื่อให้เป็นกิ่งหลักและให้กิ่งเหล่านี้เจริญต่อไปอีก 2-3  ฉัตรเท่านั้น

การตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันความเสียหายจากลม
                ภายหลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วจะไม่มีการตัดแต่งกิ่งอีก  ถ้าหากต้นยางมีทรงพุ่มแน่นทึบแตกกิ่งก้านไม่สมดุล  ก็ควรทำการตัดแต่งอีกครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีกระแสลมรุนแรง  ควรตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มและกิ่งที่ไม่แข็งแรงหรือมีทิศทางที่ไม่สมดุลออก  เพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งก้านและทรงพุ่มฉีกขาดหรือโค่นล้ม

การตัดแต่งกิ่งยางที่เกิดความเสียหายจากลม
                ควรตัดกิ่งที่ฉีกขาดหรือแตกออกจากลำต้นออกให้หมด  ในขณะเดียวกันต้องตัดแต่งกิ่งที่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งที่เหลืออยู่ออกบางส่วน  เพื่อมิให้ทรงพุ่มหนักไปทางข้างหนึ่งข้างใด  สำหรับต้นต้นยางที่ได้รับความเสียหายเพียงเพียงแต่ทรงพุ่มเอนไปข้างใดข้างหนึ่งมาก  หรือลำต้นโค้งก็ควรตัดแต่งกิ่งด้านที่หนักไม่สมดุลออก  เพื่อป้องกันมิให้ต้นยางโค่นล้ม
 ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง
                1. ควรตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฝนและปลายฝน
                2. เครื่องมือและอุปกรณ์ต้องคมและสะอาด
                3. กรณีที่กิ่งแขนงที่แตกใหม่และยังอ่อนมาก  การตัดจะต้องให้ชิดลำต้นมากที่สุด
                4. กรณีที่กิ่งแขนงใหญ่ควรตัดอย่างน้อย   ครั้ง  ครั้งแรกบริเวณที่ห่างลำต้นพอสมควร  การตัดให้เลื่อยจากด้านล่างของกิ่งก่อน  แล้วกลับมาเลื่อยจากด้านบนลงมา  ครั้งที่สองเป็นการตัดให้ชิดลำต้นตามตำแหน่งที่ต้องการ
                5. กิ่งแขนงที่อยู่สูง  ถ้าต้องการตัดทิ้งห้ามโน้มต้นลงมาตัด  เพราะจะทำให้ไส้ของต้นยางในเนื้อไม้แตก  เป็นเหตุให้ต้นยางตายได้
                6. หลังตัดแต่งให้ทารอยแผลด้วยปูนขาวหรือปูนแดง
                สวนยางที่ปฏิบัติดูแลรักษาเป็นอย่างดีและมีการตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องตามหลักการที่กล่าวมาแล้ว  จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น  มีรูปทรงที่ดี  ลำต้นกลม  เปลือกเรียบ  ง่ายต่อการกรีดเอาน้ำยาง  ทรงพุ่มโปร่ง  สามารถลดความเสียหายเนื่องจากลมหรือโรคต่างๆ ได้
                ในการสร้างสวนยางนอกจากการรู้จักวิธีการตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องแล้ว  ยางพันธุ์ดีบางพันธุ์แตกกิ่งช้าในระยะปีแรกๆ  เช่น  พันธุ์ อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600  หรือ  จี ที 1  ถ้าหากพบปัญหาเช่นนี้  จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้วิธีการสร้างทรงพุ่มให้กับต้นยางควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง  เพื่อเป็นการบังคับให้ต้นยางแตกกิ่งก้านเจริญเติบโตในลักษณะที่สมดุล  จะช่วยให้ต้นยางโตเร็ว  สมบูรณ์แข็งแรง  พร้อมที่จะเปิดกรีดได้ในอนาคต

การสร้างทรงพุ่มยางพาราให้เหมาะสมกับท้องที่แห้งแล้ง
                เป็นวิธีการที่ใช้กับต้นยางที่มีการเจริญเติบโตด้านความสูงเร็วมากในระยะแรก  แตกกิ่งแขนงข้างช้า  ทำให้ต้นสูงชะลูดและอ่อน  เนื่องจากพุ่มฉัตรยอดหนักเกินไป  เช่น  ยางพันธุ์  อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม  600  และพันธุ์ จี ที 1  การสร้างทรงพุ่มเป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางด้านข้างให้แก่ต้นยาง  ทำให้ต้นยางแตกกิ่งในระยะที่เหมาะสม  ลำต้น  คาคบและทรงพุ่ม  แข็งแรงสมดุล  การสร้างพุ่มสามารถสร้างได้หลายวิธีดังนี้
                1. การรวบยอด  จะทำในต้นยางที่มีความสูงประมาณ  2.50  เมตร  นับแต่โคนถึงฉัตรยอด  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำคือ  ขณะที่ฉัตรยอดแก่หรือกำลังเริ่มแตกฉัตรต่อไป  โดยรวบใบบนของฉัตรยอด  2-3  ใบ  คลุมยอดยางที่กำลังแตกออกมาใหม่  ใช้หนังยางรัด  ปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งยางจะแตกแขนงออกมาจากตาก้านใบหลายแขนง  ปล่อยให้แขนงเหล่านั้นเจริญเติบโต  แล้วเลือกตัดแต่งกิ่ง  เอาเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ไว้  2-4  กิ่งเพื่อให้เจริญเป็นพุ่มยางต่อไป

                                2. การครอบยอด  ทำในต้นยางที่มีขนาดอายุและช่วงเวลาเดียวกับการรวบยอด  แตกต่างตรงวิธีการ  คือจะใช้ใบยางจากส่วนอื่นของลำต้น  3  ใบ  ทำเป็นกรวยแล้วนำไปครอบยอดยางที่กำลังจะแตกฉัตรใหม่  ใช้หนังยางรัดเอาไว้เป็นอันเสร็จ  จากนั้นก็ดำเนินการเช่นเดียวกับวิธีแรก


                3. การควั่นรอบต้น  จะใช้วิธีนี้กับต้นยางที่มีอายุมากและขนาดโตกว่าสองวิธีแรก  โดยใช้มีดรูปกรรไกร  (ตัววี  V)  ควั่นรอบลำต้นยางตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดินประมาณ 1.80-2.00  เมตร  หลังควั่นรอบต้นแล้วยางจะแตกยอดออกมาใต้รอยควั่น  ปล่อยให้เจริญจนฉัตรใบแก่  จึงเลือกตัดแต่งเอาเฉพาะกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 2-4  กิ่ง  เพื่อเป็นพุ่มต้นยางต่อไป

แหล่งที่มาaopdr01.doae.go.th